• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


Web Accelerator ช่วยเร่งสปีดเว็บ?
รายละเอียด :     มีใครบ้างล่ะครับที่ไม่ต้องการให้เน็ตเร็วขึ้น? โดยเฉพาะผู้ใช้เน็ตแบบไดอัลอัพ Web Accelerator อ้างว่าสามารถช่วยให้การเชื่อมต่อเน็ตโหลดเว็บเพจได้เร็วขึ้น แต่มันทำได้แค่ไหนล่ะ และเร็วขึ้นจนน่าพอใจจริง หรือ ? ผมว่า เป็นเรื่องที่น่าคิดดีเหมือนกัน

ส่วนตัวผมว่า Web Accelerator ช่วยแก้ขัดได้บ้าง และบางทีก็ไม่ได้เลย แถมยังมีจุดอ่อนในการใช้งานอีกด้วย อ้าว!!! ทำไมถึงตอบอย่างนี้ล่ะ เอาเป็นว่า เรามาทำความเข้าใจกลไกการทำงานของมันก่อนดีกว่า เพื่อว่า จะได้เข้าใจคำตอบของผมได้ชัดเจนขึ้น

โดยทั่ว Web Accelerator จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ พวกที่เป็นซอฟต์แวร์ทำงานบนไคลเอ็นต์ และพวกที่ทำงานอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ช่วยเร่งความเร็ว

ถ้าเป็นพวกซอฟต์แวร์ Accelerator เว็บเพจต่างๆ จะถูกดาวน์โหลดเร็วขึ้นด้วยการเล่นกลอยู่หลังฉาก ผมหมายความว่า พวกมันจะทะยอยดาวน์โหลดหน้าเว็บต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลิงค์ที่อยู่บนหน้าเว็บทั้งหมด โดยแอบทำงานอยู่ด้านหลัง ขณะที่คุณกำลังดูหน้าเว็บปัจจุบัน คราวนี้พอคุณคลิกลิงค์ หน้าเว็บที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ก่อนหน้านี้ก็จะถูกโหลดขึ้นมา ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนว่าสามารถเชื่อมต่อเน็ตเร็วขึ้น

จุดอ่อนของซอฟต์แวร์พวกนี้ก็คือ มันจะทำให้โฟลเดอร์จัดเก็บไฟล์ชั่วคราวจากอินเทอร์เน็ต (Internet Temporary files) เต็มเร็วมาก หรือถ้าโปรแกรมที่เลือกใช้มีการกำหนดโฟลเดอร์จัดเก็บไฟล์ที่ดาวน์โหลดล่วงหน้าไว้เองได้ มันก็จะใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ค่อนข้างมากทีเดียว และในกรณีที่คุณเข้าไปยังเว็บเพจที่ลิงค์เป็นร้อยๆ ลิงค์ มันก็จะมีการดาวน์โหลดหน้าเว็บเหล่านั้นมาทั้งหมด ทำให้พื้นที่จัดเก็บเต็มอย่างรวดเร็วแล้ว ซึ่งในความเป็นจริง คุณก็คงจะไม่ได้ดูหน้าเว็บทั้งหมดอีกด้วย นับเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่โดยใช่เหตุ นอกจากนี้ ระบบก็จะเต็มไปด้วยคุ้กกี้ ที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือ หน้าเว็บที่ต้องการความปลอดภัย เนื่องจากเป็นหน้าเว็บที่จัดเก็บพาสเวิร์ด หรือข้อมูลสำคัญก็อาจจะถูกจัดเก็บเป็นแคชไว้ด้วยอีกต่างหาก

คราวนี้ลองมาดู Web Accelerator บนเซิร์ฟเวอร์กันบ้าง ซึ่งจะพบเห็นได้ตามโฆษณาไฮสปีดไดอัลอัพของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเจ้าต่างๆ โดย ISP จะใช้เซิร์ฟเวอร์พิเศษที่เรียกว่า “acceleration server” ซึ่งเจ้าเซิร์ฟเวอร์พวกนี้จะเชื่อมต่อบรอดแบนด์ความเร็วสูง เพื่อเรียกหน้าเว็บที่ผู้ใช้ต้องการ จากนั้นจัดเก็บหน้าเว็บเข้าไปในหน่วยความจำเฉพาะ บีบอัดข้อมูล (เพื่อลดขนาดข้อมูลที่ต้องส่งผ่านไปบนเน็ต) กรองหน้าต่างป๊อปอัพทิ้ง ก่อนที่จะส่งกลับไปให้คุณ เมื่อข้อมูลส่งมาถึงผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ที่ทาง ISP ให้คุณ เพื่อใช้กับบริการนี้ จะคลายข้อมูลที่บีบอัด เพื่อนำไปแสดงผลในบราวเซอร์ ด้วยกระบวนการทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนว่า สามารถท่องเน็ตได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

ผลลัพธ์ที่ได้จากบริการลักษณะนี้ ถ้าเป็นการโหลดหน้าเว็บที่ประกอบด้วยข้อความ (text), HTML และ JavaScript คุณจะพบว่า มันโหลดเร็วจนเห็นได้ชัด แต่ถ้าเป็นกิจกรรมอย่างเช่น การเปิดหน้าเว็บที่เข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย (secure page) การดาวน์โหลด และสื่อสตรีมมิ่ง บริการดังกล่าวจะไม่สามารถเร่งความเร็วให้กับผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ ภาพและกราฟิกต่างๆ ที่เปิดดูบนหน้าเว็บยังจะถูกลดขนาดไฟล์ให้เล็กลงจนทำให้คุณภาพของภาพที่ปรากฎแย่ลงไปอีกด้วย หรือบางขณะที่ใช้บริการเน็ตความเร็วสูงด้วยวิธีเร่งแบบนี้แล้วพบเครื่องหมายกากบาทสีแดงบนตำแหน่งที่มันควรจะแสดงภาพกราฟิกขึ้นมา ก็คงจะเข้าใจสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นแล้วนะครับ โดยทั่วไปขนาดของไฟล์ภาพจะถูกลดลงไปอีกอาจถึง 50% ทั้งๆ ที่มันถูกลดขนาดมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยผู้ออกแบบ และจัดทำเว็บไซต์

ถ้าคุณไม่สนใจคุณภาพของภาพบนหน้าเว็บที่เสียไป เพื่อแลกกับความเร็วที่เพิ่มขึ้น การใช้ไฮสปีดไดอัลอัพก็น่าจะเป็นเหมาะกับคุณ อย่างไรก็ดี บางบริการก็เปิดทางเลือกให้ผู้ใช้กำหนดได้เองว่า ต้องการให้บีบอัดภาพให้เหลือคุณภาพแค่ไหนได้ด้วย

โดยส่วนตัว ผมไม่แนะนำให้ใช้แบบที่เป็นซอฟต์แวร์บนไคลเอ็นต์ แต่ถ้าเป็นไปได้ใช้บรอดแบนด์น่าจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุดครับ



ทิปโดย http://www.arip.co.th



COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน