• หน้าแรก
  •  
  • เติมเงิน
  •  
  • รายการสินค้า
  •  
  • วงจรโน๊ตบุ๊ค
  •  
  • ความรู้ไอที
  •  
  • เกี่ยวกับเรา
  •  
  • ติดต่อเรา
  •    
  • สมัครสมาชิก
  •    
  • เข้าสู่ระบบ
  •   
  • ซื้อ-ขายสินค้า

รายการสินค้า -

admin


สมัครเมื่อวันที่ : 2012-08-23 00:17:50


ทำรายงานบน Word แบบเหนือชั้น ตอนที่ 3
รายละเอียด :     วัตถุประสงค์ของบทความตอนนี้

เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถสร้างและจัดรูปแบบตาราง รูปภาพ สมการ วัตถุรูปวาดและแผนผัง ให้เข้ากับเนื้อหาข้อความได้



ถ้ารายงานของเรามีแต่ตัวหนังสือก็คงดูไม่น่าสนใจสักเท่าไร เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถแต่งเติมรายงานได้อย่างมีชีวิตชีวา ผมจึงขอนำเสนอเทคนิคการจัดรูปแบบวัตถุในตอนนี้



ความสำคัญของการใช้งานวัตถุนั้นคงมาจากคำกล่าวที่ว่า "ภาพหนึ่งแทนคำพูดได้นับพัน" ซึ่งในที่นี้ผมขอขยายความว่าไม่จำกัดเฉพาะ "ภาพ" แต่รวมถึง แผนภูมิ ตาราง สมการ และวัตถุอื่นๆ ที่เราจะแทรกลงไปในรายงานเพื่อให้อธิบายเนื้อหาได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย



จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นพอสรุปได้ว่าวัตถุที่เราใช้กันบนไมโครซอฟท์เวิร์ดนั้นมีอยู่มากมายหลายตระกูล แต่พอจำแนกได้ 5 ประเภทก็คือ ตาราง รูปภาพ รูปวาด แผนภูมิ และสมการ ซึ่งวัตถุแต่ละประเภทนั้นก็มีเมนูคำสั่งของตัวเองเฉพาะในการใช้งานทั้งสิ้น ดังนั้นเราจึงต้องมาดูกันเป็นรายตัวไป
ตาราง

ตารางถือว่าเป็นวัตถุที่มีอภิสิทธิ์มากตัวหนึ่งบนไมโครซอฟท์เวิร์ด ถึงกับมีเมนูเป็นของตัวเองตั้งตระหง่านอยู่หน้าโปรแกรมเลยทีเดียว ดังรูปที่ 1 นอกจากนี้ปุ่มเรียกแถบเครื่องมือเป็นของตัวเองอีกด้วยดังรูปที่ 2 ซึ่งจากทั้งสองรูปนี้จะเป็นอาวุธที่เราใช้ในการจัดการกับตาราง



รูปที่ 1




รูปที่ 2






ผมเชื่อแน่ว่าหลายคนที่ยังเป็นมือใหม่หรืออย่างน้อยเคยเป็นมือใหม่ต้องปวดเศียรเวียนเกล้าเมื่อต้องจัดรูปแบบตาราง อาจเป็นเพราะการจัดรูปแบบที่หลากหลายและทำเท่าไรก็ไม่ได้ดังใจสักที ผมจึงต้องขอเริ่มต้นที่ข้อตกลงและเทคนิคง่าย ๆ ทีละขั้นตอนเผื่อว่าคุณผู้อ่านเหล่านั้นจะได้กลับมารู้สึกดีกับการใช้ตารางในการช่วยรูปแบบวัตถุอื่น ๆ ซึ่งผมจะกล่าวเป็นเทคนิคต่อไป
ข้อตกลงที่ 1 การสร้างตาราง

เริ่มต้นที่ตารางประกอบไปด้วยแถว (row) และสดมภ์หรือที่เราชอบเรียกทับศัพท์กันทั่วไปว่าคอลัมน์ (column) เราควรแสดงผลข้อมูลหนึ่งชุดต่อหนึ่งตารางเท่านั้น เพื่อข้อมูลแต่ละชุดจะได้มีการจัดรูปแบบเหมือนกันทั้งหมดตามที่เราต้องการ แต่ถ้าข้อมูลนั้นไม่เกี่ยวข้องกันก็ควรแยกจากกันไว้ พยายามหลีกเลี่ยงการทำตารางซ้อนตารางสำหรับข้อมูลชุดเดียวกัน



รูปที่ 3






สำหรับการสร้างตารางผมขอแนะนำ 3 วิธี ดังนี้

  • ถ้าเป็นตารางเล็กเราสามารถคลิ้กที่ปุ่มวาดตาราง เพื่อสร้างตารางอัตโนมัติได้ทันทีดังรูปที่ 3

  • ถ้าต้องการตารางขนาดเฉพาะ สามารถใช้คำสั่ง Insert Table จากเมนู Table หรือแถบเครื่องมือในรูปที่ 2 ก็ได้

  • สร้างตารางอัตโนมัติจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดยเลือกข้อความหรือวัตถุที่ต้องการแล้วคลิ้กที่รูป ซึ่งโปรแกรมจะทำการสร้างตารางอัตโนมัติให้จากข้อความ ซึ่งคล้ายกับการใช้คำสั่ง Table>>Convert>>Text to table


เทคนิค 1 รวมช่องตาราง

เมื่อเราสร้างตารางนั้นก็ต้องสร้างจำนวนแถวและคอลัมน์ให้พอเพียงกับข้อมูลก่อน แต่มักจะมีแถวหัวตารางที่เราต้องการยุบแถวหรือคอลัมน์เข้าด้วยกัน จากรูปที่ 4 จะเห็นว่าเราต้องการให้เซลล์ของคำว่าตัวอย่างขยายเป็นหัวคอลัมน์ที่สมบูรณ์ วิธีการก็คือเลือกเซลล์ (ช่องตาราง) ที่ต้องการจะรวมกันแล้วคลิ้กขวา เลือก Merge cells จะทำให้เซลล์ทั้งหลายยุบกลายเป็นเซลล์เดียวกัน



รูปที่ 4


เทคนิค 2 วาดตารางเพิ่ม

จากเทคนิค 1 จะใช้ในกรณีที่เราได้วาดช่องตารางไว้เพียงพอแล้ว จึงค่อยมายุบเพื่อให้ได้รูปแบบตารางตามต้องการ แต่ก็ยังมีเส้นตารางอีกแบบที่ยังไม่สามารถสร้างได้จากการกำหนดจำนวนแถวและคอลัมน์ เช่น เส้นแนวทแยงมุมดังรูปที่ 5 เป็นต้น เราสามารถวาดเพิ่มเติมตามใจชอบได้จากปุ่ม บนแถบเครื่องมือ แล้วคลิ้กเมาส์ลากเส้นตารางได้ หากไม่ชอบใจเส้นไหนก็คลิ้กที่ปุ่มยางลบแล้วไปคลิ้กเส้นที่ไม่ต้องการ



รูปที่ 5


เทคนิค 3 ปรับขนาดตามต้องการ

ผ่านมาสองเทคนิคคุณผู้อ่านก็คงสามารถสร้างตารางที่มีลักษณะของเซลล์ภายในตามต้องการแล้ว ปัญหาถัดมาก็คือการจัดการเรื่องขนาดเท่านั้น จากรูปที่ 5 เห็นว่าเรามีเครื่องมือในการปรับขนาดของตารางมากมายเหลือเกิน เริ่มต้นด้วยการปรับขนาดของคอลัมน์ เราสามารถคลิ้กลากเส้นแบ่งคอลัมน์ในตารางไปมาโดยตรงได้ โดยขนาดของตารางจะไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายความว่าเรากำลังปรับขนาดของสองคอลัมน์อยู่ โดยอันหนึ่งจะใหญ่ขึ้นอีกอันหนึ่งเล็กลง แต่ถ้าเราปรับจากบนไม้บรรทัดขนาดของคอลัมน์ที่เรากำลังปรับอยู่เท่านั้นที่เปลี่ยนไปตามที่เราลาก ส่วนคอลัมน์ที่ตามหลังมาก็จะเลื่อนเข้าออกตามไปด้วยเอง ดังนั้นขนาดของตารางจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยขณะที่เราปรับขนาดของคอลัมน์ด้วยวิธีนี้



หากคุณผู้อ่านต้องการปรับขนาดแค่แถวหรือคอลัมน์เดียวเท่านั้น ก็ไม่ยากเลยครับ แค่เลือก (ไฮไลต์) แถวหรือคอลัมน์ที่ต้องการ แล้วทำการปรับขนาด แถวหรือคอลัมน์อื่น ๆ ก็จะไม่ขยัยตามครับ ถ้าปรับไปปรับมาแล้วรู้สึกว่าแต่ละคอลัมน์แต่ละแถวขนาดไม่เท่ากันเลย โปรแกรมก็มีทางเยียวยาให้นะครับ โดยเลือกแถวหรือคอลัมน์ทั้งหมด คลิ้กขวาแล้วเลือกคำสั่ง Distribute Columns Evenly หรือ Distribute Rows Evenly



นอกจากนี้เทคนิคเดิม ๆ ที่ผมเคยใช้กับไม้บรรทัดก็ยังเหมือนเดิมนะครับ หวังว่าคุณผู้อ่านจะยังไม่ลืมจากตอนที่แล้ว นั่นก็คือ



คลิ้กขวาไว้ด้วยเวลาปรับขนาด จะทำให้ไม้บรรทัดละเอียดขึ้น



การใช้แท็บ และกั้นหน้ากั้นหลัง ยังเหมือเดิม แต่เวลาต้องการกด Tab ต้องใช้ Ctrl+Tab แทนนะครับ เพราะว่า Tab ธรรมดาหมายถึงการเลื่อนไปทีละช่องและสร้างแถมใหม่ถ้าสิ้นสุดตารางแล้ว ส่วนการปรับขนาดแถวก็คล้ายกันครับ แต่ไม่ว่าเราจะปรับจากไม้บรรทัดด้านข้างหรือจากตัวตารางเอง ขนาดของตารางก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย
เทคนิค 4 เส้นตาราง

คำว่าตารางโดยส่วนใหญ่แล้วทุกคนคงคิดว่าต้องมีเส้นตาราง แต่ความจริงแล้วโปรแกรมสามารถให้เราสร้างตารางขึ้นมาโดยเส้นคั่นโปร่งใสได้ การปรับแต่งเส้นตารางนั้นสามารถทำได้โดยคลิ้กที่ปุ่มรูปสี่เหลี่ยมมีเส้นประภายใน จะปรากฎเมนูให้ดังรูปที่ 6 ให้เราเลือกรูปแบบเส้นตารางที่ต้องการ นอกจากนี้ยังใช้ตีกรอบข้อความแทนตารางได้อีกด้วย



รูปที่ 6


ทิปจาก : www.arip.co.th





COMPUTER.TODAY

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บริการ ซ่อม ประกอบ อัพเกรด คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง ปรึกษาปัญหาคอมพิวเตอร์
แนะนำการเลือกซื้อ สินค้า ไอที บริการ คอมพิวเตอร์ พื้นที่ จ.ลำปาง และจังหวัดใกล้เคียง โทร 054-010429 , 083 - 3235992
Copyright © online-ccs.com / Facebook : comcenter.service

ส่งซ่อม โน๊ตบุ๊ค Notebook ผ่าน EMS ทั่วประเทศ ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กรุงเทพมหานคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กระบี่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาญจนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กาฬสินธุ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค กำแพงเพชร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ขอนแก่น , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค จันทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ฉะเชิงเทรา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชลบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยนาท , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชัยภูมิ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ชุมพร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงราย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เชียงใหม่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตรัง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตราด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ตาก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครนายก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครปฐม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครพนม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครราชสีมา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครศรีธรรมราช , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นครสวรรค์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นนทบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค นราธิวาส , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค น่าน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บึงกาฬ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค บุรีรัมย์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปทุมธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ประจวบคีรีขันธ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปราจีนบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ปัตตานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พระนครศรีอยุธยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พังงา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พัทลุง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิจิตร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พิษณุโลก , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เพชรบูรณ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แพร่ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค พะเยา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ภูเก็ต , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มหาสารคาม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค มุกดาหาร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค แม่ฮ่องสอน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยะลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ยโสธร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ร้อยเอ็ด , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระนอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ระยอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ราชบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลพบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำปาง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ลำพูน , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค เลย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค ศรีสะเกษ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สกลนคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สงขลา , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สตูล , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรปราการ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสงคราม , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สมุทรสาคร , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระแก้ว , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สระบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สิงห์บุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุโขทัย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุพรรณบุรี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุราษฎร์ธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค สุรินทร์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองคาย , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค หนองบัวลำภู , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อ่างทอง , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุดรธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุทัยธานี , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุตรดิตถ์ , ซ่อม โน๊ตบุ๊ค อุบลราชธาน